อาทิตย์. พ.ย. 24th, 2024

ภัยเงียบ! คุกคามสุขภาพผู้หญิงโดยไม่รู้ตัว การใส่ชุดชั้นในที่ไม่เหมาะสมกับสรีระและสภาพอากาศ หนึ่งในอันตรายที่ไม่ควรละเลย

ทุกวันนี้ อากาศประเทศเราที่มีทั้งฝนตก แดดจ้า รวมถึงมลภาวะทางอากาศอย่างปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่ทำให้สาวๆ มีโอกาสผิวเป็นสิว เป็นผดผื่นคัน หายใจไม่สะดวก รวมถึงปัญหาอีกมากมายที่เลี่ยงไม่ได้ แต่สาวๆ รู้ไหมว่า นอกจากปัจจัยภายนอก ที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายของเรา ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ยังมีอีกหนึ่งปัจจัยที่เป็นภัยเงียบใกล้ตัว และสาวๆ อาจมองข้ามไป นั่นคือ การใส่ชุดชั้นในที่เหมาะสมกับสรีระร่างกาย และเอื้อต่อสภาพอากาศที่เราอยู่อาศัยกันในปัจจุบัน

เดีย วรกิตติกุล ดีไซน์เนอร์สาวชาวไทยที่จบการศึกษาการดีไซน์ชุดชั้นในโดยตรงจากอังกฤษ ผู้ก่อตั้งแบรนด์ SYP Intimates (สิป อินติเมท) ซึ่งออกเสียงคล้ายกับเลข 10 หมายถึงการเติมเต็ม ความครบถ้วน เรียบง่ายแต่สมบูรณ์แบบ เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงคอนเซ็ปต์ของแบรนด์ชุดชั้นในน้องใหม่สัญชาติไทยนี้ได้เป็นอย่างดี โดยชุดชั้นในของสิป อินติเมท ยังคงความโดดเด่นด้วยการออกแบบเพื่อสรีระคนไทย การเลือกใช้ผ้าลูกไม้ และคัพจากผ้าไหมไทยระดับมาตรฐานสากล

วันนี้ดีไซน์เนอร์สาวไฟแรง จะมาบอกเล่าให้สาว ๆ ได้รู้กันว่า ภัยเงียบและอาการที่เกิดจากการใส่ชุดชั้นในที่ไม่เหมาะสมเป็นอย่างไร เพื่อให้เราได้ลองสังเกตตัวเองกันได้ง่าย ๆ เบื้องต้น

ภัยเงียบที่ส่งผลระยะยาวต่อสุขภาพของเรา จากชุดชั้นในแสนสวยที่ไม่เหมาะสมกับรูปร่าง มีดังนี้

  • การทำให้ระบบไหลเวียนเลือดไม่ดี

เพราะการใส่เสื้อชั้นในที่คับและเล็กเกินไป ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานในแต่ละวัน จะส่งผลให้หลอดเลือดและระบบน้ำเหลืองทำงานไม่ปกติ เพราะถูกเสื้อชั้นในกดรัดจนทำให้เกิดการคั่งของเลือดและน้ำเหลือง และเป็นการเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมในอนาคต

  • ความอับชื้นที่เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาผิวหนังเรื้อรัง

การใส่เสื้อชั้นในที่ไซส์ไม่พอดี หรือชั้นในที่ผลิตจากวัสดุและเนื้อผ้าที่ไม่มีคุณภาพ จะทำให้เนื้อผ้าเสียดสีกับผิว เกิดอาการคันผิว และทำให้การถ่ายเทอากาศไม่เพียงพอ โดยเฉพาะกับสภาพภูมิอากาศบ้านเรา ที่มีทั้งความร้อน ความอับชื้น และเหงื่อที่ทำให้เกิดการสะสมจนกลายมาเป็นสิว ผดผื่น ผิวอักเสบ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งอาการทางผิวหนังที่สาวๆ พบเจอกันอยู่บ่อยครั้ง พอนานๆ เข้าก็จะเกิดเป็นปัญหาผิวหนังเรื้อรังได้ เพราะฉะนั้นการเลือกวัสดุ เนื้อผ้าและขนาดของเสื้อชั้นในจึงถือเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อช่วยลดหรือขจัดปัญหาผิวหนังเหล่านี้

  • ร่างกายล้าและความเครียดสะสม คล้ายจะเป็น “Office Syndrome”

การสวมใส่ชุดชั้นในที่ไซส์เล็กเกินไป เป็นเวลานานๆ สมองจะถูดกระตุ้นจากภายนอกร่างกายไปยังระบบประสาท ทำให้เกิดความตึงเครียด รู้สึกอ่อนล้า ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวตั้งแต่ช่วงไหล่ หลัง คอ และเมื่อนานวันเข้า อาจกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการอาการปวดหัวเรื้อรัง หรือปวดไมเกรน เนื่องจากกล้ามเนื้อช่วงไหล่ถูกดึงรั้ง จนระบบไหลเวียนของเลือดทำงานไม่สะดวก ส่งผลกระทบไปถึงความเสี่ยงในระบบการเผาผลาญไขมันที่อาจจะลดลงอีกด้วย

  • กลิ่นอันไม่พึงประสงค์ และเชื้อราในร่มผ้า

ห้ามใส่ชุดชั้นในซ้ำกันเด็ดขาด หรือไม่ใส่ชุดชั้นในที่ยังอับชื้น ไม่แห้งดี เพราะเป็นแหล่งรวมตัวของเชื้อราและแบคทีเรีย อาจส่งผลให้เกิดอาการผื่นคัน มีกลิ่นเหม็นอับ เมื่อนานๆ เข้าจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ สาว ๆ จึงควรหมั่นสังเกตผิวบริเวณใต้ร่มผ้าของตนเองอยู่เสมอ และหมั่นทำความสะอาดชุดชั้นในเป็นประจำ ตากในที่ร่ม มีลมโกรก แต่ไม่ควรตากชุดชั้นในให้ถูกแสงแดดโดยตรง เพื่อเป็นการช่วยรักษาเนื้อผ้าและป้องกันสีไม่ให้เสื่อมสภาพก่อนเวลาอันควร

“จากประสบการณ์การออกแบบ คัดเลือกวัสดุ และความหลงใหลในชุดชั้นใน โดยเฉพาะแนวผ้าลูกไม้ ทำให้เราได้เรียนรู้ ศึกษาค้นคว้าข้อมูลมากมายในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับชุดชั้นในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งนั่นทำให้เราได้รู้ว่า การเลือกชุดชั้นในและวัสดุ เนื้อผ้าของชุดชั้นใน เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเลือกอย่างพิถีพิถัน และให้เหมาะสมกับรูปร่างแต่ละคน อย่างของทาง “สิป อินติเมท” เราเลือกใช้ผ้าลูกไม้เกรดพรีเมียมส่งออกต่างประเทศ และผ้าไหมไทย เพราะวัสดุเหล่านี้จะใส่สบาย บางเบา ไม่คัน และระบายอากาศได้ดี จึงไม่เกิดความอับชื้น เป็นอีกสิ่งที่แบรนด์ให้ความสำคัญเสมอ เพื่อให้สาวๆ สามารถใส่ชั้นในที่มีความสวย ได้โดยไม่ต้องเสี่ยงกับการก่อให้เกิดโรคต่างๆ ในระยะยาว”  เดีย วรกิตติกุล ดีไซน์เนอร์สาว กล่าวเสริม 

สาว ๆ ที่มีข้อสงสัย หรือเจอปัญหาชุดชั้นในกวนใจ ทาง “สิป อินติเมท” เค้าก็พร้อมให้คำแนะนำ ปรึกษาได้นะ ไม่ว่าจะทางไลน์ Line ID: @sypintimates หรือดูข้อมูลเพิ่มเติม และความรู้เกี่ยวกับการเลือกชุดชั้นในได้ที่ Instagram @sypintimates  หรือทาง https://www.sypintimates.com/

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *