ไทรอัมพ์ มอเตอร์ไซเคิลส์ เปิดตัวโปรแกรมขยายบริการการช่วยเหลือฉุกเฉิน
ไทรอัมพ์ มอเตอร์ไซเคิลส์ เปิดตัว “โปรแกรมขยายบริการการช่วยเหลือฉุกเฉิน” (Triumph Roadside Assistance Extension Programme) นานสูงสุดถึง 4 ปี จากเดิมที่มาตรฐานคุ้มครองเป็นระยะเวลา 2 ปี เพื่อเป็นการเพิ่มความอุ่นใจให้แก่ผู้ขับขี่ไม่ว่าจะขับขี่รถไทรอัมพ์อยู่ที่ไหนก็ตาม โดยผู้ขับขี่สามารถเลือกซื้อความคุ้มครองที่ต้องการได้ ทั้งโปรแกรมขยายบริการการช่วยเหลือฉุกเฉินแบบ 1 ปี และแบบ 2 ปี รวมความคุ้มครองสูงสุดที่ 4 ปี โดยโปรแกรมขยายบริการช่วยเหลือฉุกเฉินจะเริ่มใช้งานได้หลังจากที่โปรแกรมการช่วยเหลือฉุกเฉินเดิม (2 ปี) สิ้นสุดลง ทั้งนี้ บริการพิเศษดังกล่าวสงวนสิทธิ์ให้เฉพาะรถจักรยานยนต์ไทรอัมพ์ที่อายุไม่เกิน 2 ปีนับตั้งแต่วันส่งมอบรถ ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดและซื้อบริการดังกล่าวได้ที่ผู้แทนจำหน่ายไทรอัมพ์ทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 เป็นต้นไป
นางสาวจิราพร สำเร็จกิจเจริญ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ไทรอัมพ์ มอเตอร์ไซเคิลส์ (ไทยแลนด์) จำกัด ไทรอัมพ์ฯ ได้เปิดตัว “โปรแกรมขยายบริการการช่วยเหลือฉุกเฉิน” (Triumph Roadside Assistance Extension Programme) เพิ่มเติมสูงสุดถึง 2 ปี โดยผู้ขับขี่สามารถเลือกซื้อความคุ้มครองที่ต้องการเพิ่มได้ ประกอบด้วย โปรแกรมขยายบริการการช่วยเหลือฉุกเฉินแบบ 1 ปี ราคา 1,100 บาท และโปรแกรมขยายบริการการช่วยเหลือฉุกเฉินแบบ 2 ปี ราคา 1,980 บาท รวมความคุ้มครองสูงสุดที่ 4 ปี ให้ลูกค้าไทรอัมพ์ฯ อุ่นใจในทุกการขับขี่ ไม่ว่าจะเดินทางไปที่ไหนก็ตาม และเนื่องในช่วงวันหยุดยาวซึ่งเป็นโอกาสในการออกเดินทางท่องเที่ยวของหลายคน ไทรอัมพ์ มอเตอร์ไซเคิลส์ คำนึงถึงความปลอดภัยจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จึงสนับสนุนการปฏิบัติตามมาตรการรักษาระยะห่าง (Social distancing) เพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ
- เช็กระบบสัญญาณไฟ แตร และปุ่มกดต่าง ๆ
สัญญาณไฟและแตร เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งไฟส่องสว่างในเวลากลางคืน และระบบไฟสัญญาณเตือนต่าง ๆ เพื่อใช้ในการส่งสัญญาณให้ผู้ขับขี่ร่วมถนน ไม่ว่าจะเป็น ไฟหน้า ไฟเลี้ยว ไฟเบรก และแตร ผู้ขับขี่ควรทดลองเปิดใช้งานระบบไฟทุกส่วน เพื่อทดสอบว่าระบบไฟให้ความส่องสว่างที่เพียงพอ มองได้อย่างเห็นชัดเจนหรือไม่ รวมถึงทดลองบีบแตร และปุ่มกดต่าง ๆ บนตัวรถว่าสามารถใช้งานได้ตามปกติหรือไม่ หากมีส่วนใดที่บกพร่องหรือใช้งานไม่ได้ จะต้องเปลี่ยนหรือซ่อมให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานก่อนออกเดินทาง
- เช็กวงล้อ ลมยาง และเนื้อยาง
ผู้ขับขี่จะต้องตรวจเช็กวงล้อว่ามีความคดหรือเบี้ยวหรือไม่ เพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุในการขับขี่ได้ รวมถึงต้องตรวจเช็กความดันลมยาง ทั้งที่ล้อหน้าและล้อหลังให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด ไม่แข็งหรืออ่อนเกินไป อีกทั้งต้องตรวจดูเนื้อยางว่ามีรอยแตกลายงาหรือรอยปริหรือไม่ ในขณะที่ร่องดอกยางต้องอยู่ในสภาพที่ไม่ดูโล้น และควรมีขนาดความลึกไม่น้อยกว่า 3 – 4 มิลลิเมตร
- ตรวจสอบระบบเบรก และระดับน้ำมันเบรก
ระบบหยุดรถ หรือเบรกเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในทุกการขับขี่ ผู้ขับขี่จะต้องเช็คการทำงานทั้งเบรกหน้าและเบรกหลัง โดยทดลองกำเบรกและสังเกตดูการหยุดรถซึ่งจะรถจะต้องสามารถหยุดได้ทันที นอกจากนี้ควรตรวจเช็คระดับน้ำมันเบรกให้อยู่ในระดับที่กำหนด และไม่มีการรั่วซึมตามสายและหัวน็อตด้วย
- ตรวจเช็กระบบขับเคลื่อน โดยเฉพาะโซ่
โซ่มีความสำคัญต่อการขับขี่ไม่แพ้กันเพราะเป็นระบบส่งต่อกำลังของเครื่องยนต์ ซึ่งมีผลต่อความเร็วของรถจักรยานยนต์ อีกทั้งมีผลต่อความปลอดภัยในการขับขี่ ควรป้องกันไม่ให้โซ่เกิดสนิม โดยสภาพการใช้งานของโซ่จะต้องไม่ตึงหรือหย่อนเกินไป ซึ่งค่ามาตรฐานความตึงของโซ่ ควรอยู่ที่ประมาณ 25 – 30 มม. สามารถตรวจสอบด้วยตัวเองได้เพียงแค่ลองดึงโซ่โดยใช้มือหรือของแข็ง และตรวจสอบดูว่าระยะฟรีที่สามารถดึงโซ่ออกมาได้ว่าอยู่ในระหว่างค่าที่กำหนดหรือไม่ หากระยะที่ดึงออกมามีค่าสูงหรือต่ำกว่าค่ามาตรฐาน จะต้องปรับตั้งค่าใหม่เพื่อความปลอดภัย
- ตรวจวัดระดับของเหลว
อีกหนึ่งสิ่งที่ต้องใช้การตรวจสอบมากกว่าแค่การตรวจดูภายนอก ก็คือการตรวจวัดระดับของเหลว โดยผู้ขับขี่จะต้องตรวจเช็คระดับของเหลวให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น น้ำมันรถ น้ำมันเครื่อง น้ำมันเบรก และระดับน้ำในหม้อน้ำ เพื่อให้เพียงพอต่อการหล่อเลี้ยงชิ้นส่วนต่าง ๆ โดยก่อนออกเดินทางในช่วงวันหยุดยาว ควรนำเข้าศูนย์บริการเพื่อเปลี่ยนถ่ายของเหลวเพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน อย่างไรก็ตาม ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องทุก ๆ 6 เดือน หรือตามที่คู่มือแนะนำ