อาทิตย์. พ.ย. 24th, 2024

ผลสำรวจชี้คนไทยอัปเดตข้อมูลและปัญหาสุขภาพผ่านโซเชียลทุกแพลตฟอร์ม

การก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยของประเทศไทย นับเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพที่กำลังจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต การสร้างความตระหนักถึงความจำเป็นในการดูแลรักษาสุขภาพร่างกายตั้งแต่เนิ่น จึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างมาก กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ประเมินว่าในพ.. 2564 สัดส่วนของจำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นไปถึงร้อยละ 20-30 แสดงว่าประชากรทุก 100 คนจะพบจำนวนผู้สูงอายุ 30 คน และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบในพ.. 2568 โครงการสำรวจการเปิดรับสื่อเรื่องสุขภาพของประชาชนในประเทศไทยจึงเกิดขึ้น ภายใต้ความร่วมมือระหว่างคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ เอบีเอ็ม คอนเนค ดิจิทัลพีอาร์เอเจนซี่ชั้นนำของประเทศไทย โดยได้มีการจัดทำแบบสำรวจการเปิดรับสื่อเรื่องสุขภาพของประชาชน ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทุกเจเนอเรชั่นจากทั่วทุกภูมิภาค ผ่านช่องทางออนไลน์ในช่วงไตรมาส 4/2564 จากกลุ่มตัวอย่าง750 คน เพื่อเก็บข้อมูลและปัญหาของช่องทางการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ ที่จะนำไปสู่การปรับแก้ความเข้าใจผิดในการรับข้อมูลข่าวสารที่อาจส่งผลต่อสุขภาพในภายหลังได้

รศ.กัลยกร วรกุลลัฎฐานีย์ คณบดีคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า คนไทยมีความตื่นตัวเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพ และเปิดรับข้อมูลข่าวสารทางการแพทย์เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากพวกเขามองว่า ปัญหสุขภาพส่วนตัวที่พบบ่อย ภาวะสุขภาพของคนในสังคม เช่น สังคมสูงวัย โรคติดต่อไม่เรื้อรัง มาถึงภาวะโรคระบาดที่ขยายวงไปทั่วโลก เป็นเรื่องใกล้ตัวของทุกคน แต่ความตื่นตัวและความต้องการทราบข้อมูล ที่รวดเร็วในทันที อาจเกิดการเชื่อตาม กัน หรือส่งต่อข้อมูลที่ไม่ถูกต้องในบางครั้ง การสำรวจครั้งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ที่นักศึกษาจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับอิทธิพลของการสื่อสาร และบทบาทของนักสื่อสารที่จะพบจากประสบการณ์การทำงานจริง ความท้าทายของโครงการนี้คือ เป็นแบบฝึกหัดที่นักศึกษาจะได้ลงมือปฎิบัติจริง บนพื้นฐานของการพิจารณาความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและการเปิดรับสื่อในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ซึ่งเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจในวงกว้าง เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้กำหนดทิศทางสำหรับการวางแผนประชาสัมพันธ์ในแง่มุมต่าง ได้อย่างเป็นรูปธรรม และได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ สอดรับกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและเป้าประสงค์ในการประชาสัมพันธ์รศ.กัลยกร กล่าว

 

สื่อโซเชียล โทรทัศน์ ปากต่อปาก ช่องทางหลักเปิดรับข้อมูลสุขภาพ
ในการสำรวจนี้ กลุ่มตัวอย่างมีสัดส่วนใกล้เคียงกัน ครอบคลุมกลุ่มนักศึกษา วัยเริ่มทำงาน ไปจนถึงวัยใกล้เกษียณ แบ่งออกเป็น ช่วงอายุ 18-24 ปี (30%)  25-34 ปี (18.8%)  35–45 ปี (14%) และ 46-60 ปี (20%) ซึ่งทั้งในภาพรวมหรือแยกตามกลุ่มอายุ จะอัปเดตข้อมูลและปัญหาสุขภาพผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียมากที่สุด รองลงมาคือ โทรทัศน์ และตามมาด้วยการแบ่งปันข้อมูลแบบปากต่อปากท่ามกลางสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 โซเชียลมีเดียกลายเป็นช่องทางที่สำคัญในการเปิดรับข่าวสารทางด้านสุขภาพของคนไทย ประชาชนให้ความสำคัญและระบุถึงความจำเป็นต้องติดตามข่าวสารเกี่ยวกับสุขภาพทั่วไปและสุขภาพของตนเอง ซึ่งมาจากทั้งความสนใจส่วนตัวที่ต้องการดูแลสุขภาพ ติดตามข้อมูลเกี่ยวกับโรคระบาด ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ยาหรือวัคซีน รวมไปถึงเรื่องที่เกี่ยวกับสุขภาพจิตและความงาม นอกจากนี้ จะให้ความสนใจกับบุคคลหรือแหล่งข้อมูลที่ตนเชื่อถือ หรือสนใจเมื่อมีกระแสในสังคม ทางช่องทางโซเชียลยอดฮิต ทั้งเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ยูทูบ อินสตาแกรม และเมื่อนึกถึงการรับข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ บุคลากรทางการแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง (เช่น เทรนเนอร์ และนักโภชนาการ) รวมถึงบุคคลใกล้ชิดอย่างคนในครอบครัวและเพื่อน เป็นผู้มีอิทธิพลที่ประชาชนให้ความสนใจและเชื่อถือ

 

 

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *