ศุกร์. พ.ย. 22nd, 2024

ฝุ่น เกิดจากอะไร เราควรรับมือกันอย่างไร

ประเทศไทยยังคงได้รับผลจากฝุ่นละอองที่ปกคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดรอบๆ ส่งผลให้หลายๆ คนเกิดความกังวลต่อระบบทางเดินหายใจและการใช้ชีวิตประจำวัน ในขณะที่หลายฝ่ายพยายามระดมทุกวิถีทางเพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งนี้เพื่อความชัดเจนกับสิ่งที่เกิดขึ้น เรามาดูว่าแหล่งกำเนิดของฝุ่นละอองในบรรยากาศเกิดขึ้นได้อย่างไร และมีวิธีการที่จะดูแลสุขภาพอย่างไร ในเมื่อหลายฝ่ายมองไปในทิศทางเดียวกันว่าสาเหตุหลักเกิดจากยานพาหนะ โดยเฉพาะรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล

ฝุ่นละอองที่เกิดจากกิจกรรมที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่

  • ฝุ่นจากการคมนาคมขนส่งและการจราจร เช่น ฝุ่นดิน ทราย ที่ฟุ้งกระจายขณะรถวิ่ง และเขม่าจากการเผาไหมของเครื่องยนต์ดีเซล เป็นต้น
  • ฝุ่นจากการก่อสร้าง เช่น ก่อสร้างอาคาร ถนน และการรื้อถอน เป็นต้น
  • ฝุ่นจากการประกอบการอุตสาหกรรม เช่น การทาปูนซีเมนต์การโม่บดหรือย่อยหิน และอื่นเป็นต้น

ความหมายของฝุ่นละอองในบรรยากาศ

  • PM10 ตามนิยามของS. EPA หมายถึง ฝุ่นหยาบ (Course Particle) เป็นอนุภาคที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 2.5 – 10 ไมครอน มีแหล่งกำเนิดมาจากการจราจรบนท้องถนนที่ไม่ได้ลาดยาง จากการขนส่งวัสดุ หรือฝุ่นจากกิจกรรมบด ย่อย หิน
  • 5 ตามนิยามของ U.S. EPA หมายถึง ฝุ่นละเอียด (Fine Particle) เป็นอนุภาคที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 2.5 ไมครอน มีแหล่งกำเนิดจากควันเสียของรถยนต์ โรงไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม ควันที่เกิดจากหุงต้มอาหารโดยการใช้ฟืน นอกจากนี้ ก๊าซ SO2 NOX และสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile Organic Compound – VOC) ยังสามารถจะทำปฏิกิริยากับสารอื่นในอากาศทำให้เกิดเป็นฝุ่นละเอียดได้

ค่ามาตรฐานของฝุ่นละอองในบรรยากาศโดยทั่วไปของประเทศไทย วัดค่าเฉลี่ยของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) สะสมในเวลา 24 ชั่วโมง จะต้องไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และในระยะเวลา 1 ปี จะต้องไม่เกิน 0.025 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

ข้อแนะนำสำหรับผู้ใช้รถยนต์ทั้งชนิดเครื่องยนต์เบนซินและดีเซล นอกจากจะต้องร่วมมือร่วมใจกันเพื่อลดมลพิษทางอากาศแล้ว สิ่งที่สำคัญคือการดัดแปลงเครื่องยนต์ให้ทำงานผิดไปจากเดิม อย่างแรกที่นิยมทำกันด้วยความเข้าใจที่ผิดๆ คือการอุด EGR Valve หรือ Exhaust Gas Recirculation EGR มีทั้งในเครื่องยนต์เบนซินและดีเซลมานานแล้ว แต่มักพูดถึงเฉพาะในเครื่องดีเซล

EGR มีไว้ลดก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ หรือ NOX ซึ่งเป็นก๊าซที่เป็นพิษต่อระบบทางเดินหายใจ และเป็นตัวก่อมลพิษในอากาศโดยตรง ทำให้เกิดฝนกรด และทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ กระบวนการทำงานของ ระบบ EGR คือการนำเอาไอเสียบางส่วนกลับมาเผาไหม้ใหม่ เพื่อควบคุมอุณหภูมิในห้องเผาไหม้ และปฏิกิริยาทางเคมีที่จะก่อให้เกิด NOX และการทำงานจะเป็นไปโดยอัตโนมัติ ควบคุมโดยคอมพิวเตอร์ ดังนั้นการอุด EGR คือการตัดการทำงานของระบบหมุนเวียนไอเสีย ทำให้เครื่องยนต์ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิและปฏิกิริยาทางเคมีในห้องเผาไหม้ได้ ซึ่งจะทำให้เกิดผลกระทบโดยตรงคือ เกิด NOX ในไอเสียมากขึ้น และทำให้อุณหภูมิในห้องเผาไหม้ร้อนผิดปกติ และการอุด EGR วาล์วด้วยแผ่นเหล็กแบบง่ายๆ อาจทำให้เกิดการรั่วของอากาศเข้าสู่เครื่องยนต์ ทำให้เกิดเขม่าสะสมมากผิดปกติ ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสียหายของเครื่องยนต์อีกด้วย

ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า PM2.5 มีแหล่งกำเนิดส่วนหนึ่งมาจากการที่ ไนโตรเจนออกไซด์ หรือ NOX ไปทำปฏิกิริยากับสารอื่นในอากาศทำให้เกิดเป็นฝุ่นละเอียด ดังนั้นการอุด EGR จึงเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิด PM2.5 ซึ่งกำลังส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและสุขภาพของคนไทยโดยตรงในขณะนี้

ข้อแนะนำสำหรับประชาชนที่กำลังการขับขี่ยานพาหนะ หรือรถยนต์ ในขณะที่อากาศไม่ดี ให้เปิดแอร์โดยเลือกระบบอากาศแบบหมุนวนภายในห้องโดยสาร หรือถ้ามีแอร์ระบบอัตโนมัติ ให้ใช้โหมด full auto ควรหลีกเลี่ยงการเลือกระบบอากาศจากภายนอก อย่างไรก็ตามรถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลที่มีการปล่อยค่าไอเสียที่สะอาดตามมาตรฐาน EURO5 เช่น Mazda2 Mazda CX-3 และ CX-5 เครื่องยนต์สกายแอคทีฟคลีนดีเซล จะมีระบบบำบัดไอเสียที่ประกอบไปด้วย การออกแบบห้องเผาไหม้ที่มีประสิทธิภาพสูง เผาไหม้หมดจด และมี EGR (Exhaust Gas Recirculation) ซึ่งช่วยลดปริมาณไนโตรเจนออกไซด์ หรือ NOX และ DPF (Diesel Particulate Filter) ซึ่งช่วยลดปริมาณเขม่าในไอเสีย จึงทำให้มั่นใจได้ว่าเป็นเครื่องยนต์ดีเซลมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

การป้องกันสุขภาพอันเกิดจากมลภาวะดังกล่าว เบื้องต้นที่หาได้ง่ายและปลอดมากที่สุดคือการสวมหน้ากากป้องกัน แต่ในระยาวทุกคนต้องร่วมมือร่วมใจกันเพื่อลดการปล่อยไอเสียสู่บรรยากาศ นอกจากผู้ผลิตรถยนต์ที่มุ่งมั่นพัฒนารถยนต์เพื่อให้ปล่อยมลภาวะน้อยที่สุดแล้ว เราทุกคนก็สามารถมีส่วนร่วมด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะมาสด้านั้นเล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนารถยนต์ในอนาคต ด้วยการประกาศวิสัยทัศน์ในระยะยาว คือ Sustainable Zoom-Zoom 2030 หรือ ซูม-ซูม อย่างยั่งยืน เพื่อรักษาโลกของเราให้คงความสวยงาม เพื่อยกระดับวิถีชีวิตของผู้คน และสังคมของเราให้มีความสุขตลอดไป

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *