เสาร์. พ.ย. 23rd, 2024

“ปลูกให้เป็นป่า” ที่อนุรักษ์ อีโคลอดจ์ แคมเปญท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่คุณมีส่วนร่วมได้

Anurak Community Lodge ที่พักเชิงนิเวศ ณ อุทยานแห่งชาติเขาสก สุราษฏร์ธานี เปิดตัวโครงการ “ปลูกให้เป็นป่า” ที่อนุรักษ์ อีโคลอดจ์ แคมเปญท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่คุณมีส่วนร่วมได้ เพื่อรณรงค์เชิญชวนนักท่องเที่ยวให้มีส่วนร่วมในการฟื้นฟูป่่า และระบบนิเวศเพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม

นอกเหนือจากกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เช่น การปีนเขา พายเรือคายัค และทำอาหารป่า อนุรักษ์ อีโคลอดจ์ จัดกิจกรรมให้แขกผู้เข้าพักร่วมปลูกต้นอ่อนของพันธุ์ไม้ป่าดิบประจำถิ่น เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วมในการฟื้นฟูพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ ข้าง ๆ ลอดจ์ จากเดิมที่เป็นสวนปาล์มน้ำมันในอดีต ให้เป็นป่าดิบชื้นด้วยวิธีพรรณพืชโครงสร้าง ภายในปี 2566 โดยมีเป้าหมายเพื่อฟื้นฟูพื้นที่นี้ให้มีความหลากหลายทางชีวภาพและเชื่อมต่อกับพื้นที่อีก 10 ไร่ที่อยู่ติดกับอุทยานแห่งชาติเขาสก

พื้นที่นี้ถูกถางป่ามามากกว่า 50 ปี โดยถูกดัดแปลงเป็นสวนมะพร้าวก่อน จากนั้นเป็นสวนผลไม้ (ทุเรียน มังคุด และลำไย) ประมาณปี 2550 ถูกถางป่าอีกครั้งเพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน อย่างไรก็ตามการทำสวนปาล์มน้ำมันนั้นเป็นการเกษตรระบบนิเวศเชิงเดี่ยว ที่ไม่สามารถเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกและสัตว์ต่าง ๆ เช่น กวาง หมูหริ่ง ชะมด พังพอน ตัวนิ่ม สมเสร็จ หมูป่าและลิงลม ซึ่งสัตว์เหล่านี้ล้วนต้องการเมล็ดและผลไม้ที่หลากหลายเพื่อเป็นอาหาร

อนุรักษ์จึงได้ร่วมกับหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (FORRU) เพื่อทำการฟื้นฟูป่่าและระบบนิเวศในพื้นที่แห่งนี้ ให้เหมาะเป็นป่าดิบชื้นเพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม

โดยแขกผู้เข้าพักที่อนุรักษ์ ลอดจ์ สามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้ได้ โดยการร่วมสมทบทุน จำนวน 300 บาท (10 ดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อร่วมทำกิจกรรมปลูกต้นกล้าหนึ่งพันธุ์ในสถานที่ที่กำหนด ตามแผนที่จัดทำโดยหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (FORRU) ซึ่งแขกผู้เข้าพักจะได้รับเสื้อทีเชิ้ต “Rainforest Raising” และได้รับข่าวสารความคืบหน้าของต้นไม้ที่ “พวกเขา” ได้ลงมือปลูกไว้ รวมถึงข้อมูลความคืบหน้าของโครงการนี้ผ่านอีเมล

อนึ่ง อนุรักษ์ อีโคลอดจ์ ยังได้สร้างศูนย์ข้อมูลเพื่ออธิบายถึงความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพและข้อควรพิจารณาในการฟื้นฟูพื้นที่ป่าไว้เพื่อให้แขกผู้เข้าพักได้ศึกษาและเรียนรู้

“พืชสายพันธุ์ที่เติบโตเร็วเหมาะกับการเพาะปลูก เช่น ฝ้าย ถั่ว พลัม และต้นองุ่น เป็นต้นกล้าที่เติบโตเร็วและเป็นผลไม้เนื้อ สามารถดึงดูดสัตว์ป่า อีกทั้งยังสามารถแพร่กระจายเมล็ดพันธุ์ได้หลากหลายโดยนก เช่นนกโพระดกคอสีฟ้า นกแว่นตาขาวสีทอง และนกปรอด

นอกจากนักท่องเที่ยวจะได้รับประสบการณ์ที่มีความหมายและเป็นเสมือนรางวัล จากกิจกรรมการปลูกต้นไม้ การศึกษาข้อมูลทั้งหมดของแคมเปญจากศูนย์ข้อมูลที่จัดไว้ให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้ การพูดคุยกับคนสวน และการเข้าร่วมกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแล้ว นักท่องเที่ยวยังมีส่วนช่วยในการสร้างความยั่งยืนให้กับระบบนิเวศในระยะยาวด้วย” George Newling-Ward ผู้จัดการของโรงแรม กล่าว

หลังจากวิกฤต coronavirus ยุติลง โครงการ ‘ปลูกให้เป็นป่า’ จะสามารถดึงกลุ่มโรงเรียนและวิทยาลัยเข้าร่วมเพื่อรณรงค์แคมเปญนี้ โดยหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะสามารถส่งเจ้าหน้าที่จากพื้นที่วิจัยในจังหวัดกระบี่ เพื่อนำกลุ่มศึกษาและช่วยนักเรียนร่วมทำกิจกรรมการปลูกต้นไม้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *